1. Klowledge is knowing a fact.Wisdom is knowing what to do with that fact.So,please explain how to differ anong Klowledge, Wisdom and Vision.

18:45 Edit This 0 Comments »
ข้อแตกต่างของ Knowledge ,Wisdom and Vision

คำว่า Knowledge ในภาษาอังกฤษทั่วไปหมายถึง ความรู้หรือองค์ความรู้
คำว่า Wisdom ในภาษาอังกฤษทั่วไปหมายถึง ปัญญา
คำว่า Vision ในภาษาอังกฤษทั่วไปหมายถึง วิสัยทัศน์
ซึ่ง 3 คำนี้ มีความสัมพันธ์กันไม่ได้มีความหมาแตกต่างกันอ่างสิ้นเชิงมากนักการที่จะเป็นผู้บริการองค์กรได้นั้นเราต้องอาศัยคำ 3 คำนี้โดยผุ้เขียนจะยกตัวอย่างความสัมพันธ์และความแตกต่างของ 3 คำนี้ให้ท่านผู้อ่านได้ใช้วิจารณญาณในการทำความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
Knowledge (องค์ความรู้) คือ สิ่งที่เรีนรู้จากสิ่งต่างๆ ประสบการณ์ การจัดการความคิด การมองโลกการสังเกต สิ่งที่ตนศึกษา ค้นคว้า และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่ง Knowledge ในที่นี้ได้เสนอแนวคิดเกี่นวกับองค์ความรู้ในระดับต่างๆโดยพิจารณาความรู้จากขั้นต่ำไปหาความรู้ในระดับสูงสุดได้แจกแจงรายละเอียดไว้ดังนี้
1.ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ
ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
2. ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้
ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge)
ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น
โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น
4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่
5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ
เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ
6. การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง
สรุปง่ายความรู้ คือ ความรู้ที่ชัดแจ้งสามารถแสดงออกมาอยู่ไนรูปของ หนังสือ ตำรา หรือเอกสารได้


Wisdom(ปัญญา) มีบทความบทหนึ่งที่ผู้เขีนได้อ่านเจอ "ปัญญาเป็นการเติบโตของจิตสำนึกที่อยู่ภายใน มันไม่ใช่เรื่องความรู้ มันเป็น
เรื่องความสามารถที่จะสงบนิ่งได้ คนที่มีเชาวน์ปัญญาจะไม่ทำอะไรโดยใช้ประสบการณ์จากอดีต เขาจะอยู่กับปัจจุบันเท่านั้น เขาจะไม่ตอบโต้" ซึ่งเมื่อผู้เขียนได้อ่านข้อความดังกล่าวงจึงเกิดความคิดเห็นด้วยกับข้อความข้างต้น "ปัญญา" ในข้อความข้างต้นผู้เขียนขออณุญาติตีความหมายในที่นี้ว่า "ความคิด"การคิดแบบคนฉลาด การคิดแบบแผนโดยภายนอกอาจดุนิ่งเฉย แต่เมื่อได้คิดภายในอาจจะกระทำไปในอีกรูปแบบ
การพัฒนาปัญญา ซึ่งมีความสำคัญสูงสุด เพราะปัญญาเป็นตัวนำทาง และควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด คนเราจะมีพฤติกรรมอะไร อย่างไรและแค่ไหน ก็อยู่ที่ว่าจะมีปัญญาชี้นำหรือบอกทางให้เท่าใด และปัญญาเป็นตัวปลดปล่อยจิตใจ ให้ทางออกแก่จิตใจ เช่น เมื่อจิตใจอึดอัดมีปัญหาติดตันอยู่ พอเกิดปัญญารู้ว่าจะทำอย่างไร จิตใจก็โล่งเป็นอิสระได้ การพัฒนาปัญญาเป็นเรื่องกว้างขวาง แยกออกไปได้หลายด้าน และมี หลายขั้นหลายระดับ เช่น
- ปัญญาที่ช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จ
- ปัญญาที่ช่วยให้ดำเนินเข้าสุ่วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงาม
- ปัญญาที่ช่วยให้บรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิตที่ดีงาม
สรุปง่ายๆ ปัญญา คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา การทำงาน

Vision (วิสัยทัศน์) คือ ภาพสำเร็จที่ดีควรเป็นภาพที่ทุกคนในองค์การและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ “ร่วมกันกำหนดขึ้น”
จนมองเห็นเป็นภาพสำเร็จเดียวกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับและมุ่งมั่นที่จะทำให้วิสัยทัศน์ขององค์การบรรลุผลสำเร็จ ดังนั้นจึงมีคนนิยาม
วิสัทัศน์ไว้ว่า “วิสัยทัศน์ คือ ภาพความสำเร็จที่ต้องการในอนาคตขององค์การ” จากการทดสอบแนวคิดในการจัดทำวิสัยทัศน์ขององค์การธุรกิจหลายแห่งในประเทศไทย
พบว่า องค์ประกอบโดยหลักๆ ของวิสัยทัศน์สามารถแยกออกเป็น 6 ส่วนได้ดังนี้
1. ขอบเขตธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต คือธุรกิจอะไร?
2. ตลาด ตลาดตามภูมิศาสตร์ อยู่ที่ใด?
3. ผลิตภัณฑ์และบริการ กลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการหลัก คืออะไร?
4. ค่านิยมหลัก ค่านิยมหลักขององค์การ คืออะไร?
5. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือใคร?
6. เป้าหมายอันสูงส่ง เป้าหมายในระยะยาวของวิสัยทัศน์ ที่ท้าทาย ดึงดูดใจ และเป็นเลิศ คืออะไร?
สรุปง่ายๆ วิสันทัศน์ คือ คือการมองภาพหรือเหตุการสถานการณ์ในแง่มุมต่างๆ

0 ความคิดเห็น: