ICT ของประเทศไทยแผนแม่บทฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้

08:00 Edit This 0 Comments »
2. อ่าน ICT ของประเทศไทยแผนแม่บทฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552-2556) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
• หน่วยงานรัฐทุกระดับชั้น จะต้องปรับแผนแม่บทด้านไอซีทีของตัวเองให้เข้ากับแผนแม่บทแห่งชาติฉบับนี้
• สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหลักสำหรับการผลักดันนโยบายตามแผนแม่บทนี้
• หน่วยงานด้านงบประมาณต่างๆ จะใช้แผนแม่บทนี้ประกอบการพิจารณางบประมาณด้านไอซีที
ส่วนเนื้อหาในแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 ยกมาจากมติ ครม.
สรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand)
2. พันธกิจ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ พัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูง พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล
3. วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร
4. เป้าหมาย
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรรม ก่อเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน
- ยกระดับความพร้อมทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด ร้อยละ 25 (Top Quartile) ของประเทศที่มีการจัดลำดับทั้งหมดใน Networked Readiness Index
- เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล (National ICT Governance)
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการ บริหารและบริการของภาครัฐ (e-Governance)
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

0 ความคิดเห็น: