บททความ จาก http://mukdahancampus.blogspot.com/

08:01 Edit This 0 Comments »
4. เข้าไปอ่าน mukdahancampus.blogspot.com
จากบททความ จาก http://mukdahancampus.blogspot.com/ ซึ่งเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นั้นเมื่ออ่านจบดิฉันซึ่งเป็นผู้อ่านคนหนึ่งเมื่ออ่านแล้วได้แนวคิดเห็นว่า จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยภูมิทัศน์และภูมิภาคที่มีริมฝั่งแม่น้ำโขงติดกับเพื่อนบ้านของเรา ดังนั้นจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อให้เยาวชนหรือผู้สนใจในการศึกษาไม่ว่าจะเป็นลูกหลานชาวมุกดาหารเองหรือว่าประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจได้มาศึกษา และอีกเหตุผลหนึ่งเพื่อเป็นการตอบสนองวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ที่เน้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตและประชาชนบนฐานภูมิปัญญาอีสานใต้และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ”

เสนอโครงการที่อยากทำให้สอดคล้องกับโครงการ

08:00 Edit This 0 Comments »
3. อ่านแล้วเสนอโครงการที่อยากทำให้สอดคล้องกับโครงการ
แผน แม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 เป็นแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ซึ่งมีความต่อเนื่องของนโยบาย จากนโยบาย IT 2010 และแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 1) ควบคู่กับการกำหนดนโยบายใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ เป็นการแสดงเจตนารมณ์และทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของรัฐบาลที่ชัดเจน หลายคนที่เฝ้ามองแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ฉบับ 2 นี้ จะเป็นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง และเพื่อให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก เพื่อให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ และสังคมไปในทางที่ดีขึ้นและไม่ด้อยการพัฒนาเท่าทันขีดความสามารถด้านเทคโนโ,ยสารสนและก่ารสื่อสารในประเทศอื่นๆ
และที่สำคัญนั้นในแผนแม่บทนี้หวังเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างแผนแม่บทนี้การดำเนินการในการวางแผนควรต้องมีการวิเคราะห์องค์รวมในทุกๆด้านถึงแม้ว่าในการวิเคราะห์ในแผนแม่บทฉบับนี้อาจดูเหมือนว่ายังไม่เห็นข้อผิดพลาดที่เห็นได้ชัดแต่อยากให้คำนึงถึงผลกระทบที่จะส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมเป็นสำคัญด้วยหากแม้นคำนึงในสิ่งนี้แล้วไม่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะพัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้ว ประเทศของเรายังจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมไปในตัวด้วย

ICT ของประเทศไทยแผนแม่บทฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้

08:00 Edit This 0 Comments »
2. อ่าน ICT ของประเทศไทยแผนแม่บทฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552-2556) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
• หน่วยงานรัฐทุกระดับชั้น จะต้องปรับแผนแม่บทด้านไอซีทีของตัวเองให้เข้ากับแผนแม่บทแห่งชาติฉบับนี้
• สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหลักสำหรับการผลักดันนโยบายตามแผนแม่บทนี้
• หน่วยงานด้านงบประมาณต่างๆ จะใช้แผนแม่บทนี้ประกอบการพิจารณางบประมาณด้านไอซีที
ส่วนเนื้อหาในแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 ยกมาจากมติ ครม.
สรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand)
2. พันธกิจ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ พัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูง พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล
3. วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร
4. เป้าหมาย
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรรม ก่อเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน
- ยกระดับความพร้อมทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด ร้อยละ 25 (Top Quartile) ของประเทศที่มีการจัดลำดับทั้งหมดใน Networked Readiness Index
- เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล (National ICT Governance)
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการ บริหารและบริการของภาครัฐ (e-Governance)
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

บทความ : การประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

07:58 Edit This 0 Comments »
1. อ่านบทความแล้วมีความคิดเห็นอย่างไร
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีความหมายครอบคลุมกิจกรรมด้านการศึกษาที่ถูกวางรูปแบบโดยอาจารย์ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารและการควบคุมนักศึกษาทางไกลแบบ Online มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งทำกันเป็นปกติการศึกษาในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ เพราะจำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีความสัมพันธ์กันในอัตราส่วนที่มากโดยพบว่าขั้นพื้นฐานจะมีจำนวนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตมาก
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้วิธีการที่จะสร้างให้มีกิจกรรมเพื่อการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างได้ผล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการวางแผนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เป็นบริการสาธารณูปโภคของประเทศที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเวลาอันรวดเร็วที่สุด

กลยุทธ์ หรือ strategic คือ อะไร

08:07 Edit This 0 Comments »
วิธีการหรือแผนการคิดที่คิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน และมีกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กรโดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องการบรรลุและกำหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณ์ที่กำหนดบนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านอย่างเป็นระบบ การกำหนดแนวทาง
ในอนาคตที่ต้องการให้เกิดนั้นจะต้องตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน

วิเคราะห์จุดเด่น จุดควรพัฒนา ด้าน ICT ของ ม.อุบลฯ

08:05 Edit This 0 Comments »
คำถาม คือ ให้นักศึกษาวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย (จุดควรพัฒนา) ด้าน ICT ของ ม.อุบลฯ อย่างละ 10 ข้อ พร้อมเสนอข้อแนะนำด้าน ICT 10 ข้อ
ข้อเด่น
1. ช่วยจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาได้เข้าใจเนื้อหางานมากขึ้น
2. ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง
3. นักศึกษาสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่สนใจได้ตลอดเวลา
4. ช่วยลดข้อจำกัดเรื่องเวลา
5. ICT ช่วยแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ
6. สามารถเรียนรู้รูปแบบมัลติมีเดีย หรือระบบ E-Learning ที่มีการจัดการเรียน-การสอนโดยจำลองแบบมาจากห้องเรียนจริง
8. ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพราะสามารถกระจายชุดการเรียน-การสอนไปยังผู้เรียนโดยผ่านเครือข่ายได้อย่างทั่วถึง
7. ทำให้เราทันข่าวสาร
8. สะดวกในการค้นข่าวสาร
9. ลดการใช้กระดาษและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ลง และใช้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นแบบแผนเดียวกัน
10. สนับสนุนหน่วยงานต่างๆภายในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ

จุดด้อย
1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการลงทุนที่ใช้ต้นทุนสูง
2. ข้อจำกัดเรื่องความเร็วเน็ต
3. ปัญญาด้านบุคลากรไม่มีความเชี่ยวชาญพอ
4. บางครั้งระบบมีการโต้ตอบที่ช้ามาก
5. ผู้ใช้งานระบบใหม่ไม่ค่อยรู้เรื่องระบบมากนัก
6. กลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึก
ษาบางครั้งไม่รอบคอบนัก
7. ถูกจำกัดด้วยขนาดและไม่มีการออกแบบเรื่องความปลอดภัย
8. ไวเล็ตในมหาลัยจะใช้งานได้แค่บางจุดเท่านั้น และความเร็วก็ไม่มากเลย
9. บางวิชาที่ต้องส่งงานผ่านทางเว็บไซต์นั้นจะไม่แจ้งก่อน ทำให้นักศึกษาบางคนที่ไม่ค่อยได้เข้าไปดูไม่ทราบ
10. การเรียนการสอนบางวิชานั้นจะมีรหัสซึ่งนักศึกษาบางคนที่สนใจจะเข้าไปอ่านก็ไม่สามารถเข้าไปอ่านได้

ข้อเสนอแนะ
1. ควรตรวจสอบพื้นที่การกระจายของสัญญาณไวเลตก่อนการติดตั้งให้ดี
2. มีการแจ้งการทำกิจกรรมต่างๆผ่านเมลล์ของนักศึกษา
3. เว็บที่ใช้เป็นสือกลางในมหาวิทยาลัยควรจะมีการแจ้งรายละเอียดของรายวิชานั้นให้ถี่ถ้วน
4. เว็บไซต์ของมหาลัยควรจะมีกลไกในการบริหารงานให้มากกว่านี้อย่างเช่นวันเวลาในการลงทะเบียนเร็วเกินไป
5. ควรมีหน้าเว็บที่ช่วยบอกวิธีการใช้งานเว็บไซต์
6. เมื่อนักศึกษาคอมเม้นต์เกี่ยวกับการวางระบบการบริหารเครือข่ายอินเทอร์เนตไปแล้วควรจะพิจารณาหน่อยควรที่จะเข้ามาตรวจสอบหน่อย
7. อยากให้มีบริการถ่ายเอกสารให้กับนักศึกษา
8. น่าจะมีเว็บของแต่ลละรายวิชาและให้นักศึกษาส่งงานทางเว็บรายวิชานั้นๆ
9. อยากให้ทางมหาลัยมีขั้นตอนในการตรวจสอบการลงทะเบียนของนักศึกษาให้ถี่ถ้วน
10. นักศึกษาสามารถตรวจสอบรายระเอียดการลงทะเบียนแต่ละรายวิชาเช่นรายวิชานั้นมีรายชื่อของนักศึกษาอยู่ด้วย